|
[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล][ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
|
|
หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว
ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก ที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศ ของเนปาล และอินเดียในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว เมื่อดูที่ตั้งในเนปาล ดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล สภาพภูมิอากาศในสมัยพุทธกาล สภาพภูมิอากาศ ที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกตรงกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมากกว่าที่เนปาลและอินเดีย ในเนปาลในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม เมื่อดูที่ตั้งดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ในปัจจุบัน เพราะแม้เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม (กลางเดือน ๘ - กลางเดือน ๑๑) ตรงกับช่วงเข้าพรรษาในเมืองไทยไม่คลาดเคลื่อนเลย แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดน สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า และมอญในปัจจุบัน เพราะแม้ เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย นอกจากนี้ ระยะทางตามที่เป็นจริงในประเทศอินเดียกับระยะทางในพระไตรปิฎกไม่สอดคล้องกัน (โปรดคลิ้กเพื่อดูรายละเอียด) |
ระยะทางระหว่างเมือง เมื่อพิจารณาระยะทางตามความเป็นจริงในอินเดียและตามที่ระบุในพระไตรปิฎกและในอินเดียก็จะเห็นว่า ขัดแย้งกับที่ระบุในพระไตรปิฎก อาทิ ๑) ราชคฤห์ห่างจากตักสิลา 90 โยชน์ ก็จะเป็นระยะทางประมาณ 1440 กิโลเมตร (1 โยชน์=16 กิโลเมตร) แต่ในความเป็นจริง ตักสิลาอยู่ทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าสองพันห้าร้อยกิโลเมตร แต่ถ้าเป็นราชคฤห์ตามความเชื่อ ของไทยแต่เดิมที่อยู่ทางเหนือของเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว (ที่เรียกว่า ห้อหลวงแล้ว) ก็มีความเป็นไปได้มาก ๒) กรุงพาราณสีห่างจากตักสิลา ๑๐ โยชน์ เป็นระยะทางประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร แต่ถ้าเทียบกับตักสิลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ กรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าพันห้าร้อยกิโลเมตร ก็ยืนยันทันทีว่า คนละเมืองแน่นอน จึงเห็นได้ว่า หากพิจารณาระยะทาง ที่เป็นจริงในอินเดีย กับที่ปรากฏในพระไตรปิฏกแล้ว ไม่มีที่ตรงกันเลยแม้แต่จุดเดียว แต่มรเมืองไทยที่ตรงกับพระไตรปิฎกมีหลายกรณี อาทิ (๑) ระยะทางระหว่าง เมืองตาก(อำเภอบ้านตาก) ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นตักสิลา และเชิงเขาใหญ่ (บริเวณกลางดง ของอำเภอปากช่อง) ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่ตั้ง กรุงพาราณสี แล้ว ระยะทางประมาณ ๑๐ โยชน์ (๑๖๐ กิโลเมตร) มีความเป็นไปได้สูง (๒) ระยะทางระหว่างเมืองสาวัตถี ถึงเมืองสาเกต ๗ โยชน์ (๑๑๘ กิโลเมตร) ก็ตรงกับระยะทางระหว่างร้อยเอ็ด กับตำบลสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบัน (๓) ที่ตั้งของเมืองในอินเดีย กับพระไตรปิฎกไม่ตรงกัน จะเห็นได้จากการเดินทางจากกุสินารา ไปกรุงราชคฤห์ของพระอานนท์ ซึ่งท่านพระอานนท์เถระถือเอาบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดินทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี....เพื่อให้ทันเข้าพรรษาซึ่งเหลือเวลาไม่กี่วัน แสดงว่า กรุงสาวัตถีอยู่ระหว่างเมืองกุสินารากับราชคฤห์ แต่ในแผนที่อินเดีย สาวัตถี กับราชคฤห์ อยู่คนละฟากกัน คือ สาวัตถีอยู่ทิศเหนือ ส่วนราชคฤห์อยู่ทิศใต้ที่รัฐ Bihar (ข้อสังเกตจากคุณอาตม ศิโรศิริ) อย่างไรก็ตามที่ตั้งของเมืองต่างๆ ได้ยึดตามเอกสารของพระธรรมเจดีย์(ปาน) แต่ยังไม่เป็นข้อยุติ เนื่องจาก ทีมคณะผู้วิจัยแต่ละทีมยังไม่ได้ข้อยุติที่ตรงกัน ในเบื้องต้น พวกเราทุกทีมต่างมุ่งพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ชมพูทวีปและพระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่า สุวรรณภูมิ
|
ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด
อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ
|
หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง